30 กันยายน 2555

จริยธรรมและความปลอดภัย

       เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
                คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ


กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ


การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
  • ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
  •  สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน


การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
                ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
  • การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
  • การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
  • การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
  • การควบคุมอินพุท
  • การควบคุมการประมวลผล
  • การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
  • การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
  • การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
  • การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
  • การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
  • การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
  • แผนการป้องกันการเสียหาย
  • ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
  • ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
  • การแปลงรหัส (Encryption)
  • กำแพงไฟ (Fire Walls)
  • การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
  • การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
  • การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร มีอะไรบ้าง

ความเป็นมา
                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้ม ีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า
ความหมาย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
• แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจัยทางการบริหาร
• โครงสร้างพื้นฐาน
• ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
  • ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
  • ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
  • ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
  • ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)
                การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B
โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace
  • Seller oriented marketplace
      ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • Buyer-Oriented Marketplace
      โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้
  • Intermedialy-Oriented marketplace
    โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา


    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
    แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
  • ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
  • การโฆษณา
  • แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
  • ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
  • ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
  • การท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • การประมูล (Auctions)
ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

การค้นหาข้อมูล
  • การเลือกและการต่อรอง
  • การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
  • การจัดส่งสินค้า/บริการ
  • การบริการหลังการขาย
พฤติกรรมของลูกค้าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ
  • ตัวบุคคล
  • องค์การ
การวิจัยทางการตลาด การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัย เพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
  • เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
  • เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
  • การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
  • การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)
การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้ามีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
  • เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
  • ห้องสนทนา (Chat rooms)
  • อีเมล์ (E-mail)
  • FAQs (Frequent Answers and Questions)
  • ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
  • ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)
การรักษาความปลอดภัยความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
  • ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
  • ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
  • ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
  • สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
  • ความปลอดภัย (Safety)
วิธีการรักษาความปลอดภัย
  • การใช้รหัส (Encryption)
  • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
  • โปรโตคอล (Protocols)
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
  • ประโยชน์ต่อบุคคล
ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
  • ประโยชน์ต่อสังคม
  • ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อจำกัดด้านเทคนิค
  • ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
  • ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
  • ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ

ความรู้เรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ และมัลแวร์

ความรู้เรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ และมัลแวร์ (Malware)
          อย่าสับสน! ระหว่างคำว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) กับไวรัสที่เป็นเชื้อโรค ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นเป็นแค่ชื่อเรียกโปรแกรมประเภทหนึ่งที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมักทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ แต่ต่างกันตรงที่ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นเพียงโปรแกรมชนิดหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ไวรัสที่เป็นสิ่งมีชีวิต เราลองมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์กันเลยนะครับ ลองติดตามดู2

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)2

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย
จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Worm, Trojan, Spyware, Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน1

มัลแวร์ (Malware)1

มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจาก Malicious Software หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ โปรแกรมพวกนี้ได้แก่ Virus, Worm, Trojan, Spyware, Keylogger, Downloader, Adware, Dialer, Hijacker, BHO, Toolbar บางอย่าง, Hack Tool, Phishing, รวมไปถึง Zombie network, Zero-day attack และอื่นๆ

ความแตกต่างของไวรัส เวิร์ม โทรจัน และสปายแวร์

ความแตกต่างระหว่างไวรัส (Virus), เวิร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), และสปายแวร์ (Spyware) สามารถแบ่งแยกได้ตามลักษณะการทำงาน และพฤติกรรมของการแพร่เชื้อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

ไวรัส (Virus)

ไวรัส (Virus) มีลักษณะการแพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้คือต้องอาศัยไฟล์และ Removable Drive เป็นพาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์งานและไฟล์โปรแกรมต่างๆ ลองมารู้จักกับประเภทของไวรัสกันดังนี้

ไวรัสบูตเซกเตอร์

Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสบูตเซกเตอร์ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มสตาร์ทขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์นี้ก่อน ซึ่งในบูตเซกเตอร์นี้จะมีโปรแกรมเล็กๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฎิบัติการขึ้นมาทำงาน ไวรัสจึงอาศัยช่องทางตรงนี้เข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว โดยทั่วไปจะเข้าไปติดอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของดิสก์นั้น ถ้าดิสก์ใดมีไวรัสบูตเซกเตอร์ประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆครั้งที่สตาร์ทบูตเครื่องขึ้นมา ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อน และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมเอาไว้ต่อไป2

โปรแกรมไวรัส

Program Viruses หรือ File Infector viruses เป็นโปรแกรมไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่เชื้อไปติดไฟล์โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น .COM หรือ .EXE และไวรัสประเภทนี้สามารถเข้าไปติดอยู่ในไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .SYS หรือโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย วิธีการที่ไวรัสใช้คือการแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือหลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสแล้วขนาดของไฟล์โปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรือถ้ามีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมขนาดของไฟล์อาจจะไม่เปลี่ยนแปลง และยากที่จะซ่อมแซมให้กลับมาได้เหมือนเดิม ลักษณะการทำงานของไวรัสก็คือ เมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนตัวของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ และเมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาทำงานอีก ไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมนั้นทันที แต่ก็มีไวรัสอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ต้องรอให้ผู้ใช้เปิดโปรแกรมอะไรขึ้นมาเลย แค่อาศัยจุดอ่อนของระบบปฏิบัติการ มันก็สามารถรันตัวเองให้เข้าไปหาโปรแกรมอื่นๆที่อยู่ในดิสก์ได้ด้วยตัวเอง2

โพลีมอร์ฟิกไวรัส

Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองเมื่อมีการสร้างสำเนาของตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับด้วยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีสแกนเพียงอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆ ในปัจจุบันก็เริ่มใช้ความสามารถนี้และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ2

สทีลต์ไวรัส

Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับด้วยโปรแกรมตรวจหาไวรัสชนิดต่างๆ ไวรัสประเภทนี้จะทำงานด้วยการให้กำเนิด (Generate) หรือสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่เพื่อทำหน้าที่แทนตนเอง ถึงแม้ว่าจะสแกนด้วยโปรแกรมตรวจหาไวรัสแล้วก็ตาม แต่ก็จะพบเพียงไฟล์ไวรัสที่สร้างขึ้นมาใหม่เท่านั้น จะไม่พบตัวตนที่แท้จริงของไวรัสเลย จึงยากต่อการตรวจจับเพราะหาเท่าไรก็ไม่พบ จนถึงขั้นต้องฟอร์แมตล้างเครื่องใหม่กันเลยทีเดียว และไวรัสประเภทนี้นับวันจะยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ2

สำหรับการติดตั้ง Windows โดยทั่วไปนั้นจะมีหลักๆ

Windows-8-Consumer-Preview-Download
สำหรับการติดตั้ง Windows โดยทั่วไปนั้นจะมีหลักๆ อยู่ 3 แบบ ดังนี้1. ติดตั้งแบบล้างเครื่องใหม่หมดจนเลย หรือที่เรียกว่า Clean Install2. ติดตั้งแบบ Upgrade คือระบบจะอัพเกรดจากวินโดว์รุ่นเก่ามาเป็นรุ่นใหม่ให้โดยอัติโนมัติโดยไม่ต้อง Format เครื่องและสามารถเก็บไฟล์สำคัญหรือไฟล์ส่วนตัวที่เราเคยใช้เอาไว้ได้
3. ติดตั้งแบบใช้งานสองปฏิบัติการ ในเครื่องเดียว เช่น ใช้ทั้ง Windows 7 และ Windows 8 ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งเวลาเราบู๊ตเครื่องทุกครั้งระบบก็จะถามเราว่าจะให้รัน Windows ตัวไหน แต่มีข้อแม้ว่าในขั้นตอนของการติดตั้งนั้นเราจำเป็นที่จะต้องใช้ Partition แยกกันหรือห้ามลงใน Drive เดียวกันเด็ดขาด

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

      การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

 


      1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
      2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
      3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
      4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ชนิดของซอฟท์แวร์

ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
  • ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
  • ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯล
การ<wbr>แบ่ง<wbr>ชนิด<wbr>ของ<wbr>ซอฟต์แวร์<wbr>
ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
  1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก
  2. เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
  • ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ
  • เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
  • ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
  • สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
    ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
    • ระบบปฏิบัติการ
      ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
      1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
      2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
      3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส
      4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
      ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
    • ตัวแปลภาษา
      ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
      ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
      1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
      2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
      3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
      4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
      นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจ
    ซอฟท์แวร์ประยุกต์
    การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
    การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จ
      ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
      1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโป
      2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตั
      3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
      4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
      5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิ
    • ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
      การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
      ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
      ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

    ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
    เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)
    จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
    หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
    หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
    ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
    ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
    ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
    ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
    ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

    ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

     โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ


        ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์    1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
        2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
        3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit)
        4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)

    1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่
     - คีย์บอร์ด (keyboard)
     - เมาส์ (mouse)
     - สแกนเนอร์ (scanner)
     - อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
     - ไมโครโฟน(microphone)
     - กล้องเว็บแคม (webcam)
     - กล้องเว็บแคม (webcam)
    2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
    3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
     หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ 
     - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
    - แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)

    4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
    หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร 

    - หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
    - หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

    การใช้อินเตอร์เน็ต อย่างถูกวิธี

              ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต พวกเราได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากมัน เช่น ได้เล่นเกมออนไลน์ , ได้ chat กับคนแปลกหน้า , ได้ดูรูปโป๊แบบไม่จำกัด ,ได้หาแฟนใหม่ทางเน็ตวันละ 10 คน ฯลฯ แต่มีผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านเตือนว่า การหมกมุ่นอยู่กับเน็ต ระวังอันตรายร้อยแปด ทั้งเสียการเรียน ทั้งเสียคน บางทีอาจจะถึงกับได้พบอันตรายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย ที่จริง ก็น่าเห็นใจน้อง ๆ นะ ... เพราะเรียนหนังสือเครียดจะตายไป เลิกเรียนแล้ว ก็น่าจะได้มีโอกาสผ่อนคลายความเครียดกันบ้าง คนจะหาความสุขจากเน็ตสักหน่อย ยังมาห้ามอีก อะไรทำนองนั้น ทีนี้ตามหลักพุทธศาสนาท่านว่า ความสุขมีสองแบบ คือ แบบ เสพบริโภค (กามฉันทะ ) กับ แบบสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ ) ความสุขแบบเสพบริโภคนั้น เป็นความสุขมีคุณน้อย มีโทษมาก ทำให้หลงเพลิดเพลินไม่เป็นอันทำการงาน มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง เบียดเบียนกัน ร้อนรน กระวน กระวาย ไม่คุ้มค่ากับความสุขเพียงนิด ที่ต้องแลกกับความทุกข์ที่ตามมาเป็นพรวน ๆ อย่ากระนั้นเลย budpage ขอลองเสนอวิธีหาความสุขอย่างสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ) จากเน็ตสัก 5 วิธี มาแนะนำกัน แบบว่าให้ได้ทั้งสนุก และ ได้รับสาระไปด้วย ดังต่อไปนี้

    1."ชื่นชมความงามธรรมชาติบนเน็ต" เปิดเวบค้นหาภาพธรรมชาติ จำพวก ต้นไม้ ภูเขา วิวสวย ๆ ดวงจันทร์ หรือ ดอกไม้ ฯลฯ พอได้พบภาพที่ถูกใจ ให้คุณมองภาพนั้นด้วยความชื่นชมพร้อมทั้งกล่าวพรรณาความงามออกมา อาจจะเป็นคำพูดดี ๆ หรือ แต่งเป็นกลอน หรือแต่งเป็นเพลง ก็ได้ หากคุณลองทำดูแล้วคุณรู้สึกว่าจิตใจของคุณมีความแช่มชื่นเบิกบาน จนอยากออกไปพบเห็นธรรมชาติจริง ๆ ข้างนอก ละก้อ...แสดงว่าคุณได้ เข้าถึงความงามของธรรมชาติบ้างแล้ว


    2. "พรรณาความงามของงานศิลปะ" อันนี้ก็คล้าย ๆ กัน ให้ search ค้นหาภาพงานศิลปะต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต คัดเลือกภาพที่ถูกใจสักภาพ แล้วให้คุณ พรรณาความงามของงานศิลปะชิ้นนั้น โดยสมมุติตัวเองว่าเป็นศิลปินกำลังบรรยาย ให้ผู้ชมฟัง พรรณาเข้าไปเถอะ หรือจะใช้วิธีพิมพ์บรรยายลงในคอมพ์ก็ได้ ทำอย่างนี้สักประเดี๋ยวจิตใจของคุณก็จะเกิดความปีติสุข เพราะได้เข้าถึงความงามของศิลปะ

    3.มีความสุขกับการเป็น"พหูสูต " "พหูสูต" แปลง่าย ๆ ว่า"ผู้รอบรู้" คือ ไม่ว่าจะพบเห็นอะไร ก็จะมองเห็นเป็นความรู้ไปหมด สามารถ อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง
    นิสัย"พหูสูต" นี่สามารถสร้างขึ้นมาได้ หากฝึกฝนเป็นประจำ ยิ่งสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตยิ่งง่ายใหญ่ วิธีง่าย ๆ เริ่มต้นด้วย ทุก ๆ วัน ก่อนจะเปิดเน็ตให้ลองเหลียวมองสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ แล้วตั้งคำถามกับตัวเอง "วันนี้เราอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร" เมื่อเราได้พบสิ่งที่น่าสนใจแล้ว ก็ให้ค้นในอินเทอร์เน็ตว่าเราได้รับความรู้อะไรจากสิ่งนั้นบ้าง
    ยกตัวอย่าง เหลียวไปเหลียวมารอบ ๆ ตัว ก็พบว่าวันนี้ เราอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ "ปากกาลูกลื่น"ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราก็พิมพ์ คำว่า"ปากกาลูกลื่น" หรือ ball-point pen ลงในเวบไซต์ประเภท search engine ( เช่น google.com ,siamguru.com ฯลฯ) จากนั้นก็ให้คัดเลือกหาอ่านเรื่องราวที่มีความรู้เกี่ยวกับ"ปากกาลูกลื่น" เก็บเกี่ยวสาระให้ได้มากที่สุด จนเราสามารถคุยเรื่องปากกาลูกลื่นได้เป็นชั่วโมง ๆ (แววพหูสูตเริ่มปรากฏ) วันต่อ ๆ มาก็ให้มองหาสิ่งอื่น รอบๆ ตัวเพื่อค้นหาความรู้อีก ลองตั้งเป้าไว้เลยว่า จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านให้หมดทุกอย่าง หากใครทำได้ ถือว่าได้เป็นผู้รอบรู้คนหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว

    4. สารานุกรมภาพ มาสะสม"ภาพความรู้"กันดีกว่า (รับรอง สนุกว่าสะสมรูปโป๊ ) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ท้าทายมาก เพราะมีคนฉลาดๆเท่านั้นเองที่สามารถทำได้ วิธีการง่าย ๆ ก็คือให้ท่องเว็บไปเรื่อย ๆ ทีนี้เกิดไปเจอภาพอะไรที่เขามีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ เราก็ลองอ่านดู ถ้าเรื่องราวน่าสนใจ อ่านแล้วเราเข้าใจ ประทับใจ ก็ให้ save ภาพนั้นเก็บไว้ในอัลบั้มภาพในเครื่องคอมพ์ของตนเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเรามีคลังภาพแห่งความรู้เก็บไว้มากมาย ( ทุกภาพก่อน save เราจะต้องอ่านเนื้อหาคำอธิบายจนเข้าใจภาพนั้นได้ดีก่อน ไม่ใช่ เก็บแต่ภาพแต่ไม่ยอมเก็บความรู้) ยกตัวอย่าง
    เปิดเวบไปเห็นภาพ"เหตุการณ์ 14 ตุลา" เราก็อ่านเรื่องราวบรรยายภาพนั้นจนเข้าใจ ว่าได้เกิดอะไรขึ้นในปี พ.ศ. 2516 จากนั้นให้save ภาพนั้นเก็บเอาไว้ หรือ ไปพบภาพ "super nova" (ดาวระเบิด) เราก็อ่านจนเข้าใจเนื้อหาสาระของภาพ แล้วก็เก็บภาพไว้
    ทีนี้เวลาได้ภาพเก็บไว้ในอัลบั้มมากพอเพียงแล้ว เวลาว่าง ๆ ให้คุณลองจัดแสดงภาพแบบสไลด์โชว์ บรรยายให้เพื่อนฝูงฟัง รับรองว่าคุณจะกลายเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถให้ความรู้และความสนุกสนานกับเพื่อน ๆ จนบรรดาเพื่อน ๆ จะต้องทึ่งในตัวคุณเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

    5. "เก็บคำคม" ในเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตมีคำคม ๆ สำนวนดี ๆ มากมาย อ่าน ๆ แล้ว ให้เลือกสรรคำที่โดนใจ เอามาสะสมไว้ในไดอารี่ของเรา จะได้เก็บไว้อ่านประเทืองปัญญา จริงอยู่ในเว็บบอร์ดส่วนใหญ่อาจจะมีคำพูดที่ไม่เหมาะสมมากมาย เช่น คำหยาบ คำส่อเสียด ด่าว่า กระทบกระเทียบ แต่ในคำพูดเหล่านี้บางครั้งก็มีสาระสอดแทรกอยู่ เราสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีๆ คือ เลือกเฟ้นสิ่งที่ เป็นเนื้อหาสาระออกมา ( คุ้ยหาเพชรจากกองขยะ ) คุณทราบหรือไม่ว่าคำพูดของคนบางคน (แม้แต่คำพูดของคนที่สติไม่ดี ) บางครั้งจะให้แง่คิดดี ๆ ที่ช่วยปรับปรุงชีวิตของเราให้พัฒนาขึ้นมาได้ ลองดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่าการสะสมข้อความดี ๆ มีสาระ มีความสนุกสนาน และมีคุณค่า ไม่น้อยกว่าการสะสมพระเครื่อง หรือ ตุ๊กตาโมเดลราคาแพง ๆ เสียอีก

    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง

    1. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
    • องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

      ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

      นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ






    ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์

    2. ซอฟต์แวร์

    3. ข้อมูล

    4. บุคลากร

    5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
    ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

    บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

    ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

    เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ

    ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ


    ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ







    1 กันยายน 2555

    เรื่องที่ภูมิใจในชีวิต^^

    เรื่องที่ฉันภูมิใจในชีวิต........คือ
         
           การได้ขัดขับรถกระบะ เพราะก่อนทีจะจับรถขัดขับไม่เคยคิดว่าตัวเองจะทำได้ กลัวที่จะขับมันออกถนนใหญ่ ระเวงในสิ่งๆต่างๆที่อยู่ข้างหน้า กลัวว่าจะไปชนหรือเบียดรถคันอื่น คิดมากไปสักหมด แต่พอได้จับรถขัดขับดู ดูเหมือนอะไรจะหายเหมือนนี้ ขับไปๆก้อรู้เทคนิคในการขับ เป็นเรื่องที่ง่ายนิสเดียว ตอนนี้คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจน่า เพราะเคยคิดว่าตัวเงจะทำไม่ได้ อิอิ ^_^

    เรื่องที่ถนัดมากที่สูด

    เรื่องที่ัฉันภูมิใจ.......คือ
      การที่ได้ทำอาหารให้พ่อและแม่ทาน เพราะโดยส่วนตัวแร้ว รูปลักหน้าตานิสัยส่วนตัวคล้ายผู้ชายดูเหมือนจะไม่ค่อยถนัดทางนี้เลย แต่นิสัยส่วนตัวของฉันแล้วเป็นคนชอบเข้าครัวทำกับข้าวอาหารอยู่บ่อยๆ ชอบเป็นชีวิตจิตใจ ทำทีไรมีความสุขที่สุขเลย พ่อกับแม่ได้รับประทานทีไรเป็นอันว่าชมทุกที  ^____^ อิอิ